หน้าเว็บ

Lecture


เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์ Designing Web Colors




เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้   เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น จากเว็บก็คือสี   ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
          - เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ  ตั้งแต่รูปภาพ  ตัวอักษร   สีพื้นหลัง   การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
          - การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร   บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
          - การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน
          - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
          - สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้   เช่น  ข้อมูลใหม่   หรือ

โปรโมชั่นพิเศษ
          - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน
          - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
          - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
          - ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
          - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ    

การผสมสี (Color  Mixing)   มี 2 แบบ
          1. การผสมแบบบวก (Additive  mixing)  จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง   ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ  สามารถนำไปใช้ในสื่อใด ๆ ที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์  ทีวี 
          2. การผสมแบบลบ (Subtractive  mixing)  การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง   แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่าง ๆ    สามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน   รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี
          -   ความเป็นระเบียบของสี   ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุล   และความสวยงามในเวลาเดียวกัน
               *การใช้สีที่จืดชืดเกินไป  จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อ  และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมได้
               * การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย   ขาดระเบียบ  และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม
          -   เป้าหมายในเรื่องสี    คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย      น่าสนใจ
และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple  Color  Schemes)
          1.  ชุดสีร้อน (Warm  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , ฟ้าเงินแกมเขียว  และสีเขียว  โดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบาย   องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพ   เรียบร้อย
          2.  ชุดสีแบบเดียว  (Monochromatic  Color  Scheme)    เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด   คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว   แต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้ม อ่อนในระดับต่าง ๆ    และชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว   แต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวา   เพราะขาดความหลากหลายของสี
          3.  ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่ติดอยู่กันในวงล้อ  สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้   แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
          4.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split  Complementary  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น   แต่จะมีผลให้ความสดใส  ความสะดุดตา  และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
          5.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double  Split  Complementary  Color  Scheme) ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน   แต่สีตรงข้ามทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง  2 ด้าน   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้น   แต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
          6.  ชุดสีเย็น (Cool  Color  Scheme)  เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็น   ให้บรรยากาศคล้ายทะเล  รู้สึกเย็นสบาย
          7.  ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม   ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน   จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
          8.  ชุดสีตรงข้าม (Complementary  Color  Scheme)  คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี   เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กัน   จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น





การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม  Design for a variety of Web Environments

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
เบราเซอร์ที่ใช้
ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ความละเอียดของหน้าจอ
จำนวนสีที่จอผู้ใช้สามารถแสดงได้
ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์
ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี

บราเซอร์ที่ใช้
 เบราเซอร์คือโปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจโดยสามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร,รูปภาพและภาพเคลื่อนไหวมีเบราเซอร์หลายชนิดที่ได้รับความนิยมเช่น
    => Internet Explorer
    => Netscape Navigator
    => The World
    => Opera
    => Mozilla
    => Firefox

 การออกแบบเว็บไซต์ตามคุณสมบัติของเบราเซอร์
    => เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์ทุกชนิด
    => เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
    => เว็บไซต์ตามความสามรถของเบราเซอร์
ð    เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ

ระบบปฏิบัติการ(Opreating System)
 ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลการทำงานต่อเบราเซอร์มากโดยแต่ระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของเบราเซอร์ที่ใช้ได้,ระดับความละเอียดของหน้าจอ, ชุดสีของระบบและชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ เป็นต้น
    => การแสดงผลของ Windows จะมีขนาดใหญ่กว่า Mac เล็กน้อย
    => ความสว่างของหน้าจอบน Mac จะมากกว่า Windows และ Linux

ความละเอียดของหน้าจอ
สรุป
กรณีที่ 1 ผู้ใช้สว่นใหญ่จะได้เห็นหน้าเว็บที่สมบูรณ์
กรณีที่ 2 ผู้ใช้ทุกคนจะได้เห็นเนื้อหาทั้งหมดในหน้าจอ
กรณีที่ 3 ผู้ใช้จำนวนน้อยที่สามารถดูเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม
การออกแบบควรใช้ความละเอียด800 x 600

ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
Ms Sans Serif VS Microsoft Sans Serif
Ms Sans Serif เป็นพ้อนต์ที่บิตแมท ที่ออกแบบจากจุดพิกเซล โดยมีการออกแบบขนาดที่แน่นอน
MicrosoftSans Serifเป็นพ้อนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวคเตอร์หรือลายเส้นโดยมีการออกแบบเอ้าไลน์ไว้แบบเดียวแต่ปรับขนาดได้ไม่จำกัด

ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ผู้ออกแบบเว็บไซต์ต้องออกแบบให้เว็บมีความสวยงาม น่าสนใจ และดาวน์โหลดได้เร็ว โดยทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด

การออกแบบให้เว็บเพจมีขนาดคงที่ (Fixed Design)
รูปแบบนี้เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการควบคุมโครงสร้างของหน้าเว็บไซต์ให้คงที่เสมอ
 ข้อดี
เว็บเพจจะประกฎต่อสายตาผู้ใช้เป็นรูปแบบเดียวกันเสมอ
สามารถดูความยาวของตัวอักษรในบรรทัดได้ดี ตัวอักษรไม่ยาวเกินไป
 ข้อเสีย
 ต้องอาศัย Scroll Bar ในการเลื่อนดูข้อมูล


             ออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์    Designing Web Graphics

ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
                เมื่อจอมอนิเตอร์ทำการแสดงผลรูปภาพในเว็บเพจ พิกเซลในรูปภาพจะจับคู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับ
พิกเซลตามความละเอียดของหน้าจอ ทำให้หน่วยการวัดรูปภาพในเว็บจึงเป็นพิกเซล ไม่ใช่นิ้วหรือเซ็นติเมตรแต่อย่างใด ดังนั้นในกระบวนการ ออกแบบกราฟิกและรูปภาพต่างๆ คุณจึงความลดขนาดเป็นพิกเซลไว้เสมอ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดกราฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในหน้าเว็บ รวามถึงขนาดวินโดว์ของบราวเซอร์อีกด้วย
เนื่องจากรูปภาพในเว็บโดยส่วนใหญ่จะถูกสแดงผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ ในทางเทคนิคที่ถูกต้องแล้ว ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพจึงต้องเป็น “Pixels per inch” (ppi) แต่ก็มีระบบการวัดอีกแบบหนึ่งคือ “Dot per inch (dpi) ที่ใช้ความละเอียดของรูปถาพที่พิมพ์ออกมา ซึ่งความละเอียดที่ได้จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องในทางปฏิบัติ หน่วย ppi กับ dpi อาจใช้แทนกันได้ ทำให้เป็นที่ยอมรับว่าความละเอียดของรูปภาพในหน้าจอมีหน่วยเป็น dpi แทนท่จะเป็น ppi ที่ถูกต้อง

 ความละเอียดของรูปภาพ
                เมื่อเปรียบเทียบความละเอียดของรูปภาพในเว็บกับในสิ่งพิมพ์ คุณจะเห็นความแตกต่างกันว่ารูปภาพในเว็บมีคุณภาพที่ต่ำกว่า เนื่องจากมีข้อมูลและรายละเอียดของรูปภาพที่น้อยกว่าทำให้รูปที่ได้มองดูมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของรูปภาพในเว็บ